ดูแลผิวอย่างไรเมื่อต้องเจอกับคุณ PM 2.5

ฝุ่น PM 2.5 นอกจากจะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์โดยผ่านทางระบบทางเดินหายใจแล้วยังสามารถซึมทะลุเข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนังของมนุษย์ได้โดยตรง ซึ่งฝุ่นที่ทะลุเข้ามาจะเข้าไปทำลายเซลล์หนังกำพร้า กระตุ้นจนเกิดการอักเสบ เป็นสารก่อภูมิแพ้ ตลอดจนเป็นต้นเหตุของโรคในระยะยาว ตามปกติและองค์กรอนามัยโลกกำหนดว่าไม่ควรมี PM 2.5 มากกว่า 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และถ้าผิวหนังต้องพบกับ PM 2.5 ที่มีความเข้มข้นมากกว่า 50 ไมโครกรัมต่อตารางเมตร เป็นระยะเวลาติดต่อกันมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป จะมีผลกระทบต่อผิวหนังในระยะยาว ในเรื่องฝ้า กระ จุดด่างดำ ความชรา และเกิดเป็นผื่นขึ้นทันทีสำหรับผู้ที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้ สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรนำเข้าไปในโซนที่มี pm 2.5 เข้มข้นนั้นคือผู้ที่มีโรคผิวหนังมาก่อนแล้ว เช่น ภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นลมพิษ สะเก็ดเงิน และเด็กทารกที่มีผิวหนังอ่อน แต่ถ้าหากเลี่ยงไม่ได้ควรจะอยู่ในสถานที่นั้นโดยใช้เวลาให้น้อยที่สุดประกอบกับทาโลชั่นและสวมใส่เสื้อผ้าปกคลุมร่างกายให้มิดชิด และหลังจากออกจากเขตมลพิษ PM 2.5 แล้วควรจะรีบชะล้างทำความสะอาดผิวหนังให้สะอาดก็จะช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นกับผิวหนังได้มาก นอกจากการป้องกันภายนอกแล้วกันรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยคอลลาเจนและวิตามินซีก็มีส่วนช่วยบำรุงผิวให้มีความชุ่มชื้น สามารถทนต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นได้จาก PM 2.5 ได้เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นไปได้ควรจะออกกำลังกายเพื่อให้เหงื่อได้ชำระล้างและขับอนุภาคฝุ่น PM 2.5 ที่เกาะอุดตันตามรูขุมขนต่าง ๆ ออกมาจะดีมาก

4 วิธีรับมือกับPM 2.5

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมากจนสร้างอันตรายกับร่างกายของมนุษย์ได้ในระดับเซลล์ แต่ตอนนี้พื้นที่หลายส่วนของประเทศไทยก็ถูกปกคลุมด้วยมลพิษทางอากาศอย่าง PM 2.5 จนเกินกว่าค่ามาตรฐาน ดังนั้นจึงอยากจะมาแนะนำวิธีรับมือกับฝุ่น PM 2.5 เพื่อให้มีร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ 1. หมั่นตรวจสอบคุณภาพอากาศเพื่อหลีกเลี่ยงเข้าไปในบริเวณที่มีมลพิษหนาแน่น ซึ่งปัจจุบันนี้สามารถดูผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ที่ http://air4thai.pcd.go.th/webV2/ และ https://waqi.info/th/ 2. หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรจะสวมหน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่น PM 2.5 เช่นหน้ากาก n95 หรือถ้าหาหน้ากากแบบนี้ไม่ได้ก็สามารถใช้หน้ากากอนามัยธรรมดาแต่ให้นำมาซ้อนกับผ้าที่มีความหนาก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง 3. ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ ด้วยการจิบทีละนิดเพื่อให้ระบบตามทางเดินหายใจมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และการดื่มน้ำเป็นให้เพียงพอในแต่ละวันยังเป็นผลดีกับร่างกายอีกด้วย 4. ในเขตตัวบ้านหรือห้องที่อยู่อาศัยควรจะปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่น PM 2.5 จากภายนอกลอยเข้ามาและควรจะหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของแหล่งที่เป็นจุดสะสมฝุ่นอย่าง พรม ผ้าห่ม ตุ๊กตาก็จะช่วยได้มาก แล้วหลังจากจัดการตัวบ้านไม่ให้มีฝุ่น PM 2.5 เข้ามาได้แล้วควรจะติดตั้งเครื่องฟอกอากาศภายในตัวบ้านเพื่อให้บ้านมีสภาพอากาศที่สะอาด ถ้าหากไม่สามารถติดตั้งได้ทั่วทั้งบ้านอาจจะเลือกติดตั้งเครื่องฟอกอากาศไว้ในเฉพาะห้องนอนก็ได้

โลหะหนักในฝุ่น PM 2.5

ใน PM 2.5นอกจากจะก๊าซพิษผิดหลายชนิดแล้วยังพบโลหะหนักที่ปะปนอยู่ในฝุ่นละออง PM 2.5 อีกด้วย ซึ่งนี่ถือเป็นเรื่องอันตรายมากเพราะผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตมลภาวะอย่างนี้ก็ไม่ต่างจากการสูดดมไอปรอทหรือสารเคมีอันตรายเข้าสู่ร่างกายโดยตรง PM 2.5 ที่พบส่วนใหญ่ในเขตตัวเมืองมักจะมีธาตุโลหะหนักหลายชนิดปนอยู่ แต่ที่พบได้มากคือแคดเมียม ซีลีเนียม และสารหนู ที่มีต้นกำเนิดมาจากกระบวนการสันดาปเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ซึ่งพบได้มากจากควันท่อไอเสียของยานพาหนะและอุตสาหกรรมที่ไม่มีมาตรฐานในการจัดการกับมลพิษก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานของสากลในประเทศไทยนั้นกำหนดให้ไม่ควรมีธาตุโลหะหนัก แคดเมียม ซีลีเนียม และสารหนู ปนอยู่ในอากาศเกินกว่า 4.16, 2.66 และ 6.12 ตามลำดับ แต่ในปริมาณฝุ่น PM 2.5 ที่ตรวจนั้นล้วนแต่มีธาตุโลหะหนักเหล่านี้เกินกว่าค่ามาตรฐานไปมาก โลหะหนักที่จะปนอยู่ใน PM 2.5 ล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยในเขตมลพิษได้โดยตรงและยังมีโอกาสที่จะเกิดผลกระทบระยะยาวเป็นโรคเรื้อรังและโรคมะเร็งตามมา ปัญหา PM 2.5 เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องร่วมกันแก้ไขเพราะต้นเหตุของสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากอุตสาหกรรมและวิถีชีวิตของคนในชุมชนทั้งนั้น โดยเฉพาะการใช้ยานพาหนะในเขตตัวเมืองที่มีผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวเป็นจำนวนมาก และถึงแม้การเผาไหม้ที่เกิดจากการทำเกษตรกรรมไม่ได้เป็นต้นเหตุของปัญหา PM 2.5 ก็ไม่ควรมองข้ามเพราะเมื่อมลพิษทางอากาศเหล่านี้ไหลมารวมกันก็จะกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่มากขึ้น

หน้ากากอย่างไหนถึงจะปลอดภัยจาก PM 2.5

หลายคนมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้หน้ากากเพื่อป้องกันฝุ่นพิษ PM 2.5 โดยส่วนมากมักจะเลือกใช้หน้ากากอนามัยที่สถานส่งเสริมสุขภาพมีให้ใช้ แต่รู้หรือไม่ว่าหน้ากากอนามัยแบบนี้ สามารถป้องกัน PM 2.5 ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น หน้ากากที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการป้องกัน PM 2.5 นั้นคือหน้ากากป้องกันมลพิษและสารเคมีชนิดครอบทั้งศีรษะ ซึ่งหน้ากากชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันตั้งแต่มลพิษและสารเคมีได้เกือบ 100% แต่คงไม่มีใครที่จะสวมหน้ากากชนิดนี้ในที่สาธารณะเป็นแน่ อีกทั้งหน้ากากชนิดนี้ยังมีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับหน้ากากป้องกัน PM 2.5 ในรูปแบบอื่น หน้ากาก n95 เป็นหน้ากากที่สามารถใช้ป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้เป็นอย่างดี และยังมีประสิทธิภาพรวมถึงการป้องกันเชื้อไวรัสและเชื้อราที่ลอยอยู่ในอากาศได้อีกด้วย ตัว n95 มีประสิทธิภาพในการกรองมากถึง 95 เปอร์เซ็นต์แต่ก็มีอายุการใช้งานที่ประมาณ 3 สัปดาห์เท่านั้น หน้ากากอนามัยแบบกระดาษ 3 ชั้น เป็นหน้ากากอนามัยชนิดพิเศษที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ป้องกัน PM 2.5 ได้โดยเฉพาะแต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีประสิทธิภาพต่ำกว่า n95 อยู่ดี เพราะต้องลดต้นทุนในการผลิตเพื่อให้ประชาชนที่ไม่มีกำลังซื้อสามารถหาทางป้องกัน PM 2.5 ได้ ถ้าไม่สามารถหาหน้ากากป้องกัน PM 2.5 ได้จริง ๆ ก็อาจจะเลือกใช้เป็นหน้ากากอนามัยธรรมดาแต่ให้เอามาซ้อนกับทิชชู่และผ้าหนาก็จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามการใช้หน้ากากอนามัยอาจจะมีความลำบากอยู่บ้าง โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ…

ทำอย่างไรเมื่อต้องอาศัยอยู่ในเขตมลพิษ PM 2.5

ถึงแม้เราจะทราบว่า PM 2.5 นั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่ในทางปฏิบัติเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงกับสถานที่ ที่มีมลพิษเหล่านี้ได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์เพราะเราต้องทำงานและปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ของตนเองต่อไปตามปกติ PM 2.5 นั้นสามารถส่งผลกระทบต่อเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายซึ่งเป็นต้นเหตุของการอักเสบ การเพิ่มอนุมูลอิสระที่ไม่เป็นผลดีกับร่างกาย การไหลเวียนเลือด ระดับแร่ธาตุในร่างกาย ซึ่งผลกระทบระยะสั้นอาจจะมีให้เห็นไม่มากเช่น การระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ การไอ จามมี เสมหะ น้ำมูก การกำเกิบของภูมิแพ้ การระคายเคืองตาแต่แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคในระยะยาวอย่างการอักเสบเรื้อรังไปจนถึงโรคมะเร็ง PM 2.5 อยู่ในทุก ๆ ที่ ที่มีอากาศซึ่งเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยแต่ก็ยังสามารถป้องกันได้ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพในการกรองอนุภาพที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 0.3 ไมโครเมตรหรือ n95 และควรจะรับประทานอาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระประกอบกับการออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ ปัญหาของฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างชัดเจนที่สุดคือเรื่องระบบทางเดินหายใจและการใช้หน้ากากอนามัยประกอบกับการดูแลตนเองขั้นต้นอาจจะไม่เพียงพอ ดังนั้นควรจะดื่มน้ำสะอาดให้มากเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับลำคอ โพรงจมูก รวมไปถึงเนื้อเยื่อภายในปอด และหมั่นรักษาความสะอาดภายในช่องปากเพื่อลดแบคทีเรียที่มีอยู่ในบริเวณนั้นไม่ให้กลายเป็นต้นเหตุของการเจ็บป่วย